พช.นครศรีธรรมราช ชู อำเภอพระพรหม เป็นอำเภอต้นแบบ ตามแนวทางกิจกรรมพระราชทาน “อำเภออารยเกษตร”

พช.นครศรีธรรมราช ชู อำเภอพระพรหม เป็นอำเภอต้นแบบ ตามแนวทางกิจกรรมพระราชทาน “อำเภออารยเกษตร”

วันที่ 29 มิถุนายน 2566 พล.ต.กัลย์สรรค์ จันทรเสน ประจำสำนักพระราชวังพิเศษ ระดับ 10 รองผู้อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน เป็นประธานเปิดกิจกรรมพระราชทาน เพื่อให้อำเภอพระพรหม เป็นต้นแบบ “อำเภออารยเกษตร” ตามแนวทางพระราชทานอารยเกษตร ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แก่ประชาชนในพื้นที่ตำบลท้ายสำเภาและพื้นที่ใกล้เคียง โดยมีนายอภินันท์ เผือกผ่อง ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช นางพิชานันท์ เผือกผ่อง นายกเหล่ากาชาดจังหวัด นายสมพงษ์ มากมณี นายไตรรัตน์ ไชยรัตน์ นางเรืองอุไร บุญช่วยชูพันธุ์ และนายศรัทธา ทองคำ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ข้าราชการ ตุลาการ ศาล ทหาร ตำรวจ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช ผู้นำท้องถิ่นท้องที่ ปลัดจังหวัดนครศรีธรรมราช หัวหน้าส่วนราชการ หัวหน้าหน่วยงาน ภาคราชการ เอกชน 7 ภาคีเครือข่ายและประชาชนจิตอาสาเข้าร่วมกิจกรรมพร้อมเพรียง

พร้อมนี้มีนายจตุพล ศรีดำ พัฒนาการจังหวัดนครศรีธรรรมราช นายอำเภอพระพรหม พัฒนาการอำเภอ พัฒนากร เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน 7 ภาคีเครือข่าย และผู้นำท้องที่ผู้นำท้องถิ่น ในพื้นที่อำเภอพระพรหมการจัดนิทรรรศการ “อำเภออารยเกษตร” คือ เรื่อง ปากท้อง การดำเนินการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พื้นที่ต้นแบบ “โคก หนอง นา โมเดล” กับการแก้หนี้แก้จน กิจกรรม สัมมาชีพชุมชน OTOP อำเภอพระพรหม สร้างรายได้ในครัวเรือน และกิจกรรมโรงทาน โดยพัฒนาชุมชนจังหวัดนครศรีธรรมราช

การจัดกิจกรรมพระราชทานในครั้งนี้ เป็นโครงการที่พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานโครงการ “โคก หนอง นา ข้าราชบริพาร” ให้ข้าราชบริพารที่พระสงค์ จะน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ โครงการโคก หนองนา ไปดำเนินการในพื้นที่ภูมิลำเนาของข้าราชบริพาร เพื่อสนับสนุนให้ครอบครัวของข้าราชบริพารหน่วยราชการในพระองค์ เป็นตัวอย่างความสำเร็จในชุมชน นำไปสู่การเป็นชุมชนที่เข้มแข็ง ด้วยการน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่สู่การปฏิบัติ มีคุณธรรมเป็นสังคมแห่งการแบ่งปัน พึ่งพาตนเองได้ช่วยเหลือผู้อื่นและบริหารทรัพยากรอย่างยั่งยืน มีแนวทางในการแก้ไขปัญหายาเสพติดที่แพร่ระบาดในชุมชน ด้วยชุมชนบริหารจัดการ บำบัดรักษายาเสพติดด้วยวิธี “ชุมชนบำบัด” หรือวิธีการบำบัดฟื้นฟูโดยการมีส่วนร่วมชุมชน, การดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียงในชุมชนให้สามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยสถานศึกษาในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนด้วยวิถี อารยเกษตร สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงด้วย โคกหนองนา แห่งน้ำใจ และสมหวัง เพื่อความสุขอย่างยั่งยืน

โดยกิจกรรมภายในงานเป็นการสร้างองค์ความรู้ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่มาเข้าร่วมกิจกรรมได้รับความรู้ มีความเข้าใจและมีส่วนร่วมในกิจกรรม อย่างยิ่งสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ได้จริงใน 5 ด้าน ประกอบด้วย กิจกรรมด้านปากท้อง กิจกรรมด้านสุขภาพ กิจกรรมด้านทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม กิจกรรมด้านการศึกษา และกิจกรรมด้านรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด ทั้งนี้เพื่อกระตุ้นสร้างสังคมที่มีคุณธรรมเป็นสังคมแห่งการแบ่งปัน พึ่งพาตนเองได้ช่วยเหลือผู้อื่นและบริหารทรัพยากรอย่างยั่งยืน มีแนวทางในการแก้ไขปัญหายาเสพติดที่แพร่ระบาดในชุมชน ด้วยชุมชนบริหารจัดการ บำบัดรักษายาเสพติดด้วยวิธี “ชุมชนบำบัด” หรือวิธีการบำบัดฟื้นฟูโดยการมีส่วนร่วมชุมชน, การดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียงในชุมชนให้สามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยสถานศึกษาในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนด้วยวิถี อารยเกษตร สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงด้วย โคกหนองนา แห่งน้ำใจ และสมหวัง เพื่อความสุขอย่างยั่งยืน

ADVERTISEMENT

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *